Alternative Lending กำลังเติบโตในประเทศไทย และจะกลายเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในอนาคตอันใกล้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะเมื่อประกอบกับวิกฤตการณ์โควิด 19 ที่บีบคั้นให้คนหันไปใช้บริการออนไลน์ ตั้งแต่การซื้อของบนแพลตฟอร์ม E-Commerce การสั่งอาหาร ไปจนถึงการจ่ายบิล ซึ่งทำให้ข้อมูล Digital Footprint ที่นำมาประกอบการพิจารณาสินเชื่อเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างก้าวกระโดด พร้อมทั้งขยายความครอบคลุมกลุ่มผู้บริโภคขึ้นทุกวัน
การปลดล็อคเรื่อง Securitization เป็นอีกนโยบายที่ภาครัฐสามารถทำได้ ซึ่งหากทำได้อย่ำงปลอดภัย จะช่วยทวีคูณและกระจายผลประโยชน์ที่เกิดจำก Alternative lending โดยผู้กู้ที่เข้ำถึงเงินกู้ได้จะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างก้าวกระโดด เพราะบริษัทผู้ให้บริการมีแหล่งเงินทุนที่ขยายใหญ่ขึ้น นักลงทุนเองได้มีทำงเลือกใหม่ในการลงทุน ทำให้กำไรจากการปล่อยกู้ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ที่ผู้ประกอบการ และผู้ประกอบการเองก็มีโอกาสได้กำไรมำกขึ้น เพราะปริมาณการปล่อยกู้ที่สูงขึ้นแบบทวีคูณ
แล้วจะปลดล็อก Securitization อย่ำงไรให้ปลอดภัย? ในรายงานฉบับนี้ คณะผู้วิจัยเสนอให้ภาครัฐวางกรอบโครงสร้างผลประโยชน์อย่างระมัดระวัง สนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบง่ายควบคุมความซับซ้อนของหลักทรัพย์ให้อยู่ในเกณฑ์ และเตรียมระบบให้พร้อมรับมือกับ systematic shock ที่อาจเกิดขึ้น โดยเน้นการระงับการส่งต่อความเสี่ยงไปที่นักลงทุนอย่ำงทันท่วงที
Barcode | Call No. | Volume | Status | Due Date | Total Queue | |
---|---|---|---|---|---|---|
1040011533 | SD00077 | 6 | Available | 0 | Please Login |
Related Book