โทมัส พิเก็ตตี เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เขามองโลกตามความเป็นจริงว่าความเหลื่อมล้ำนั้นเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ และไม่อาจแก้ปัญหาด้วยการให้ทุกคน “มี” เท่าๆ กันหรือเหมือนๆ กันได้ อย่างไรก็ตาม เขาก็มองว่าสังคมควรมีคุณธรรมพื้นฐานบางประการ ดังนั้นความไม่เท่ากันจึงควรจะดำรงอยู่ได้ก็ต่อเมื่อมัน “มีประโยชน์ต่อส่วนรวม” เท่านั้น
หนังสือเล่มนี้เป็นผลผลิตของการเก็บข้อมูลอันยาวนานแบบลงไปขลุกกันถึงลูกถึงคนจริงๆ ข้อมูลที่รวบรวมมามีทั้งข้อมูลภาษี เงินเดือนรายได้ประชาชาติ ความมั่งคั่ง ผลตอบแทนรายปีของทุน ทั้งหมดครอบคลุมเวลาสามศตวรรษ (ศตวรรษที่ 18 – ต้นศตวรรษที่ 21) และมากกว่า 20 ประเทศ เมื่อหาข้อมูลเหล่านี้ได้แล้ว จึงได้ทำการวิเคราะห์ ค้นหาแบบแผนทางประวัติศาสตร์ หาภาพรวมที่แท้จริงว่า “มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่” และ “ถ้ามันยังเป็นอย่างนี้ต่อไป อนาคตจะเป็นอย่างไร?”
ทำไมต้องอ่านหนังสือเล่มนี้ ก็เพราะปัญหาความเหลื่อมล้ำ ได้ค่อยๆ ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างเงียบๆ ค่อยๆ รุกคืบ คอยกัดกร่อน บั่นทอนความก้าวหน้า ความสำเร็จในการพัฒนาของทุกๆ ประเทศ โดย “ทุน” มีบทบาทสำคัญ เป็นหัวใจในกลไกที่ทำให้ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมกว้างขึ้น กลายเป็นชนวนที่นำมาซึ่งเป็นความขัดแย้งเผชิญหน้าระหว่างชนชั้น ความไม่พอใจระหว่างคนจน คนรวย ระหว่างคนชนบท คนเมือง ระหว่างลูกจ้าง นายจ้าง ซึ่งท้ายสุดอาจนำมาซึ่งความล้มเหลวของระบบทุนนิยม และหากไม่ระวังก็จะสามารถปะทุลุกลามกระทบต่อประชาธิปไตยและระบอบการปกครองในวงกว้างได้
Barcode | Call No. | Volume | Status | Due Date | Total Queue | |
---|---|---|---|---|---|---|
1040008146 | EC00274 | Available | 0 | Please Login | ||
1040008147 | EC00274 | Contact librarian | 0 | Please Login |
Related Book